ชื่ออุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

วัดท่าการ้อง


 

           วัดท่าการ้องตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาทางด้านเหนือ ในเขตดำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          วัดท่าการ้องคงจะเกิดจากการรวมวัด ๒ วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดท่า วัดหนึ่ง และวัดการ้อง อีกวัดหนึ่ง เนื่องจากคราวที่พระยาโบราณราชธานินทร์สำรวจภูมิสถานกรุงเก่า ได้ทำแผนที่ไว้ฉบับหนึ่ง พิมพ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๖ โดยลงตำแหน่งวัดท่าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และวัดการ้องตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดท่าระยะห่างกันราว ๔๐๐ เมตร วัดทั้งสองเป็นวัดเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วได้รับการฟื้นฟูให้เป็นวัดขึ้นใหม่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ปัจจุบันสภาพของวัดการ้องถูกทำลายลงเกือบทั้งหมด คงเหลือแต่เพียงเนินดินเเละพระพุทธรูปองค์หนึ่งอาจเป็นพระพุทธรูปของเดิมซึ่งมีผู้ศรัทธาได้สร้างศาลาคลุมไว้เป็นที่สักการบูชา พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งสมาธิ ถูกปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งองค์ด้วยฝีมือช่างชาวบ้าน จนไม่หลงเหลือเค้าเดิมของพระพุทธรูปสมัยอยุธยา อย่างไรก็ตามวัดการ้องเคยปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ๒ ครั้ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สงครามทั้งสิ้น

          รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. ๒๑๐๖ คราวสงครามช้างเผือก พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ทัพพระมหาอุปราชากองหน้าตั้งค่ายตำบลเพนียดค่ายพระเจ้าแปรปีกซ้ายทั้งตำบลทุ่งวัดโพธารามไปคลองเกาะแก้ว ทัพพระเจ้าอังวะปีกขวาตั้งค่ายดำบลวัดพุทไธสวรรย์มาคลองตะเคียน ทัพพระยาตองอู ทัพพระยาจิตตอง ทัพพระยาละเคิ่งเกียกกายตั้งค่ายแต่วัดการ้องลงไปวัดไชยวัฒนาราม ทัพพระยาพสิม ทัพพระยาเสี่ยง กองหน้าของทัพหลวงตั้งค่ายตำบลลุมพลี ทัพหลวงตั้งค่ายตำบลวัดโพธิ์เผือก ทุ่งขนอนปากน้ำและทัพสมเด็จพระมหาธรรมราชาตั้งตำบลมะขามหยิ่งหลังค่ายหลวง สงครามครั้งนี้ฝ่ายกรุงศรีอยุธยายอมเป็นพระราชไมตรีกษัตริย์ทั้งสองฝ่ายเสด็จมาทำสัตยาธิษฐานหลั่งน้ำษิโณทกตำบลวัดพระเมรุ พระเจ้าหงสาวดีขอเอาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรและช้างเผือก ๔ เชือกกลับไปหงสาวดี

          สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าบกทัพใหญ่เข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา ๒ ทัพทัพแรกยกมาทางด้านเหนือโดยเนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพ ทัพที่สองยกมาทางด้านใต้โดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ในขณะที่ดั้งล้อมกรุงอยู่นั้นมังมหานรธาเสียชีวิตลง การบัญชาการรบทั้งหมดจึงตกอยู่กับเนเมียวสีหบดีทั้งหมด การรบครั้งนี้พม่าเข้ามาดั้งป้อมค่ายล้อมกรุงไว้ทุกด้าน โดยตั้งค่ายใหญ่ที่ตำบลโพธิ์สามต้น ค่ายรอบในที่มีบทบาทสำคัญในการสู้รบครั้งนี้ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเมืองที่บ้านป้อม วัดการ้อง วัดภูเขาทอง เพนียด วัดเจดีย์แดง วัดภมวิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดแม่นางปลื้มและวัดศรีโพธิ์ ได้รื้ออิฐโบสถ์วิหารมาสร้างค่ายทำหอรบดั้งปืนใหญ่น้อยยิงเข้ามาในกรุงทุกค่าย ถึงวันอังคารขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ วันเนาว์สงกรานต์  พ.ศ.๒๓๑๐ เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึก

          การกล่าวชื่อวัดการ้องในพระราชพงศาวดารทุกครั้ง ไม่ใช่เป็นการกล่าวถึงการสร้างวัด ดังนั้นจึงไม่อาจเชื่อได้ว่าในรัชกาลพระมหาจักรพรรดินั้นมีวัดการ้องอยู่เเล้ว เนื่องจากพงศาวดารเล่มนี้รวบรวมขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์แต่เขียนเรื่องของสมัยอยุธยา การอ้างชื่อวัดบางแห่งเพียงเพื่อการอธ็บายเหตุการณ์สงครามให้เห็นภาพพจน์ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับประวัติการก่อสร้างวัดจำเป็นด้องศึกษาด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดแห่งนั้นควบคู่กันไปด้วย กรณีของการอ้างชื่อวัดไชยวัฒนารามร่วมอยู่กับวัดการ้องระยะนี้ก็เช่นเดียวกัน เพราะปรากฏในพระราชพงศาวดารชัดเจนว่า วัดไชยวัฒนารามแรกสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๓ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

          แต่หลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดการ้อง ปัจจุบันก็ไม่อยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาอายุสมัยของวัดนีได้แน่ชัด แต่น่าเชื่อว่าวัดการ้องน่าจะมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยพิจารณาร่วมกับหลักฐานที่วัดเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

          วัดท่าปัจจุบันที่เป็นที่ตั้งของ “วัดท่าการ้อง” คงจะเป็นวัดที่สร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา แด่ไม่ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดาร หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ ของกรมการศาสนากล่าวถึงประวัติวัดท่าว่า สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๒๗๕  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามาแล้วประมาณ พ.ศ.๒๒๘๕

          วัดนี้ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา อุโบสถสร้างขึ้นเป็นหลักของวัด มีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปรางค์จำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเจดีย์ราย

          พระประธานในอุโบสถน่าจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่พิจารณาได้ว่าสร้างพร้อมกับการสร้างวัดนี้  พระพุทธรูปองค์นี้ทำปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานชุกชีซึ่งทำเป็นฐานสิงห์ ลักษณะพระพักตรงเป็นรูปไขค่อนข้างกลม พระขนงโค้ง พระเนตรอูมเหลือบลงเบื้องล่าง พระนาสิกโด่ง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอยมีเกตุมาลาและรัศมี เป็นลักษณะของพระพุทธรูปญมัยอยุธยาตอนกลาง ลักษณะของฐานสิงห์ทรงเตีัย น่องสิงห์ประกอบด้วยวงโค้ง ๓ วง เคยพบมาแล้วที่วัดพระศรีสรรเพชญู์ ราว พ.ศ.๒๐๔๓ ดังนั้นหากพระพุทธูรปประธานองค์นี้เป็นของเดิมที่ได้รับการซ่อมตามแบบเดิม ไม่ใช่งานก่อสร้างสมัยหลังที่หันกลับไปทำเลียนแบบของเดิมแล้ว วัดท่าน่าจะก่อสร้างมาแล้วอย่างน้อยสมัยอยุธยาตอนกลาง

 

          สิ่งสำคัญในวัดท่าการ้อง

          ๑. อุโบสถ ขนาด ๑๑ x ๒๒ เมตร เป็นอุโบสถขนาด ๕ ห้อง มีมุมโถงหน้าหลัง อีกด้านละห้อง หลังคาทรงจั่วลด ๒ ชั้น ส่วนลาดหลังคาซัอน ๓ ตับ มุงกระเบื้องดินเผาแบบเกร็ดเต่า กรอบหน้าบัน (ป้านลม) ปั้นปูนทำช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ ส่วนนี้เป็นงานซ่อมราว พ.ศ. ๒๕๐๘ ช่อฟ้าและหางหงส์ของเดิมทำด้วยไม้ หน้าบันทำด้วยไม้แกะสลักลายหน้ากาลคายช่อลายเปลว หน้าบันปีกนกทำด้วยไม้แกะสลักรูปลิงและช่อลายเปลวเช่นกัน
          ประตูทางเข้าด้านหน้ามี ๓ ประตู ทำลวดลายปูนปั้นประดับ ประตูกลางเป็นประตูซุ้มทรงปราสาท บานประตูแกะสลักลวดลายลงรักปิดทอง ประตูที่ขนานอยู่ทั้ง ๒ ข้างและประตูท้ายอีก ๒ ประตู เป็นประตูซุ้มทรงบันเเถลง บานประตูลงรักปิดทอง ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าด่างประจำทุกห้องทำซุ้มทรงบันแถลง บานประตูไม้ลงรักปิดทองเช่นเดียวกัน
          ฐานชุกชีของกลุ่มพระพุทธรูปประธานทำเป็นฐานสิงห์ ส่วนนี้ซ่อมใหญ่แล้ว พระพุทธรูปประธานประทับนั่งปางมารวิชัย เหนือฐานสิงห์ก่อบนฐานชุกชี ฐานนีัแอ่นโค้งเล็กน้อยในระดับฐานชุกชีมีพระพุทธรูปรายอีก ๖ องค์ ในจำนวนนี้ ๒ องค์ที่อยู่ด้านขวาของพระประธานเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานสิงห์ ลักษณะองค์พระพุทธรูปและฐานสิงห์ที่แอ่นโค้งเหมือนกับฐานสิงห์ของพระประธาน จึงน่าจะเป็นงานสร้างพร้อมกัน
          พระพุทธรูปอีก ๓ องค์ อันอาจเป็นงานสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะและขนาดเดียวกันตั้งอยู่ด้านหน้าฐานชุกชี เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ประทับนั่งบนฐานสิงห์ ส่วนล่างของฐานสิงห์ชำรุด เนื้อปูนและอิฐเปื่อยยุ่ยเนื่องจากการวัดก็ร้อนของเกลือและนัำใต้ดินแต่ยังเหลือส่วนบนของผ้าทิพย์ เศียรพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ถูกขโมยไปทั้งหมดแล้ว ต่อมาทางวัดได้ปั้นเศียรใหม่เมื่อ ๑๐ กว่าปีมานี้
          เสมารอบอุโบสถเป็นเสมาคู่ ตั้งอยู่บนฐานสิงห์ โดยทำซุ้มทรงเสมาครอบใบเสมาไว้ ใบเสมาทำมาจากหินทรายเหลือเพียง ๑ ใบ บางส่วนถูกถอดเก็บไว้ในกุฏิเจ้าอาวาส
          กำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถทำกำแพงหลังเจียดล้อมรอบ เสาหัวเม็ดทำส่วนบนทรงเม็ดมะยมซ้อน ๒ ชั้นรับยอดทรงสี่เหลี่ยม ประตูด้านหน้าเป็นทรงคฤห์หลังคาประดับเจดีย์ สี่เหลี่ยมย่อมุมไมัสิบสอง ๓ องค์ ประตูด้านหลัง ๑ ประตู และประตูด้านข้างอีกด้านละ ๒ ประดู ทั้งหมดทำช่องประตูทรงกลีบบัว
          ใน พ.ศ.๒๕๔๗ วัดท่าการ้องได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถครั้งใหญ่

          ๒. เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองทรงเครื่อง ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วด้านหน้า ด้านซ้ายขวาข้างละองค์ ลักษณะเหมือนกัน ส่วนล่างก่อฐานทักษิณด้วยฐานสิงห์เตี้ย พื้นที่บนลานทักษิณแคบ องค์เจดีย์ที่ตั้งบนฐานทักษิณก่อฐานสิงห์ ๒ ชั้น ชั้นเชิงบาดรองค์ระฆัง บัลลังก์ปล้องไฉนเป็นทรงบัวคลุ่มเรียงลดหลั่นกัน ๗ ชั้น ปลีซึ่งยืดสูงมาก มีลูกแก้วคั่นกลางองค์ระฆังทำลวดลายปูนปั้นประบภทรักร้อยประดับการทำปลียืดสูงจนต้องทำลูกแก้วคั่นกลางเริ่มมีอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และได้พบเสมอในเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          . เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองมีเรีอนธาตุ ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว ด้านเหนือใต้ข้างหน้าบ้างละองค์และในกำแพงแก้วหนัาอุโบสถด้านซ้ายอีก ๑ องค์ลักษณะเเละขนาดเดียวกันเบต่องค์ที่อยู่ในกำเเพงแก้วขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย
          ส่วนล่างทำฐานบัวลูกแก้วเดี้ยเป็นฐานทักษิณพื้นบนฐานทักษิณแคบ องค์เจดีย์ทำฐานสิงห์ ๒ ชั้นรองรับเรือนธาตุ มีพระนำทิศทั้ง ๔ ด้าน เหนือเรือนธาตุทำฐานสิงห์ ๒ ซั้น และชั้นเชิงบาตรรองรับองค์ระฆัง บัลลังก์และปล้องไฉน ทำบัวหงายรองรับปลีซึ่งยืนยาวมากจนต้องมีลูกแก้วคั่นกลาง เจดีย์ทั้ง ๓องค์นี้น่าจะสร้างหรือซ่อมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          . เจดีย์ทรงปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบ จำนวน ๑ องค์ ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วหน้าอุโบสถด้านขวาส่วนล่างก่อฐานบัว ๑ ชั้น ฐานสิงห์ ๒ ชั้นรองรับเรือนธาตุ ซึ่งทำจระนำทั้ง ๔ ด้าน ส่วนยอดทำชั้นรัดประคตซ้อนกัน ๗ ชั้น ใบขนุนและกลีบขนุนแปะติดกับองค์ปรางค์ ไม่มีซุ้มบัญชรประจำชั้นรัดประคต ปรางค์องค์นี้จึงน่าจะสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ดอนต้น

          . หอระฆัง ตั้งอยู่นอกกำแพงด้านเหนือเป็นอาคารแปดเหลี่ยม ๒ ชั้น พื้นชั้นบนปูด้วยไม้หลังคาเครื่องไม้พังลงแล้ว ผนังทุกชั้นทุกเหลี่ยมเจาะช่องหน้าต่างทรงกลีบบัว กรุช่องหน้าต่างด้วยดินเผาเคลือบเขียวแผ่นสี่เหลี่ยมจตุรัสฉลุลาย ทางเข้าหอระฆังเจาะช่องสี่เหลี่ยมที่ชั้นล่างที่ผนังด้านเหนือ 

 

 

 แผนที่ : การเดินทาง