ชื่ออุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ประวัติการดำเนินงานอนุรักษ์
         เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาดเชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรูได้อย่างดีด้วย        จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งจากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชนเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙ (พ.ศ.๘๐๐) เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัดขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๘, พ.ศ.๑๗๐๐) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ ๒ เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง          ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงห่างออกไปประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัยมีความสำคัญควบคู่กันมากับเมืองสุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถมว่าเป็นกษัตริย์ครอง ๒ นคร คือ เสวยราชย์ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ.๑๗๘๑)        ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.๑๗๘๑ - ๑๘๒๒) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย...