ชื่ออุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

วัดเกษ


 

            “ไอยการแต่หอกลองถึงเจ้าไสร แลตลาดยอดแขวงขุนธรณีบาล แด่หอกลองถึงประตูไชยแลเจ้าไสรแขวงขุนทราบาล แต่หอกลองมาถึงป่ามะพร้าวท่าชีมาถึงท้ายบางเอียนแขวงขุนโลกบาล แต่หอกลองมาถึงบางเอียนมาถึงจวนวังแขวงขุนนรบาล

            ในกฎมณเฑียรบาลได้แบ่งดัวพระนครศรีอยุธยาออกเป็น ๔ แขวง คุ้มขุนแผนและวัดเกษ ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานที่ตั้งเป็นคุกนครบาล หรือ คุก มหันตโทษ ภายในบริเวณคุกจะมีวัดเกษเป็นศาสนสถานประจำ ใช้ไนการประกอบกิจและพิธีกรรมต่างๆ โดยกำหนดให้ “หอกลอง” เป็นจุดกึ่งกลางของการแบ่งเขตการปกครองดูแล ซึ่งในแต่ละแขวงการปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยจะมีขุนนางตำแหน่ง“ออกหลวง” หรือ “ออกขุนแขวง” เป็นนายกองตำรวจรับผิดซอบ นายตำรวจเหล่านี้จะถือดาบติดมืออยู่เสมอ มีพวกแขนลายเป็นนายขมังธนูเป็นบริวาร และเช่นเดียวกัน เมื่อมีคนกระทำความผิด ตำรวจแขวงก็จะเป็นผู้จับกุมผู้กระทำความผิดส่งเข้าไปกักขังในคุกหรือเรือนจำของในเเต่ละแขวง ซึ่งในจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
            “นายคุกนั้น เป็นพัสดีเรือนจำโดยแท้ คุก แปลว่า เรือนจำ และไม่มีเรือนจำที่ไหนจะร้ายกาจเท่าเรือนจำในประเทศสยามไปได้ เป็นคอกหรือกรงสร้างด้วยไม้ไผู่ ถกฝนถูกลมอยู่ตลอดเวลา”

            ตามกฎมณเฑียรบาลและจดหมายเหตุของชาวต่างประเทศที่นำมากล่าวขึ้นต้นนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการแบ่งเขตการปกครองอาณาประชาราษฎร์และสภาพโดยทั่วไปของคุกในแด่ละแขวงของพระนคศรีอยุธยา ซึ่งในการพิพากษาและกำหนดโทษนั้นยังต้องขึ้นอยู่กับพระธรรมนูญการปกครองที่กำหนดและแบ่งละเอียดลงไปอีก คือ

            “อนึ่ง มีพระธรรมนูนไว้ว่า ถ้าหากันว่าปล้นสดม ฉกลักเอาทรัพย์สิ่งของทองเงิน ฆ่าเจ้าเรือนตาย กลางวัน กลางคืน แลลักลูกเมียไพร่ฟ้าข้าคนท่าน ลักช้าง ม้า เรือ เกวียน โค กระบือ เข้าของผ้าผ่อนแพรพรรณ เส้นผักวักถั่ว เป็ดไก่สิ่งใดก็ดี ทำชู้ด้วยเมียท่าน ฆ่าฟันกันแลจะกละ กระสือ กระหาง แลทำยาแฝดยาเมา รีดลกเสียสรรพทำประการใดให้ดามไซ้เป็นตระทรวงนครบาล ถ้าเนื้อความไม่ถึงตายจำเลยเป็นสมใน ขุนพรมสุภา ได้พิจารณา ถ้าแลหัวเมืองขุนแขวง หมื่นแขวงได้พิจารญาแต่เบี้ยต่ำแสน

            ในมาตรา ๔๖ ยังมีข้อความขยายเมืองของการพิจารณาคดีของเเขวงออกไปอีกว่า “อนึ่ง แขวงทั้งสี่จะได้ว่าอรรถคดีทั้งปวงไซ้แต่เบี้ยต่ำแสนลงไป แลทวยราษฎร์ผู้มีคดีเอาอรรถคดีเบี้ยพ้นแสนไปให้แขวงทั้งสี่ว่าอรรถคดีนั้นไซ้อย่าให้แข็งว่า แต่ว่าให้กุมไว้ถ้าแลกรมใดๆ มีโรงศาลแลได้จ่ายญ่าช้างสพมาดรา แลขุนราชนิกูลนิตยภักดี ซึ่งจ่ายญ่าชั้างเถื่อนนั้นจึ่งให้เบิกความเบี้ยพ้นแสนนั้นไปพิจารณาตามตระทรวง

            ในพระนครศรีอยุธยา คุกกลางของนครบาลตั้งอยู่ในเเหล่งชุมชนใกล้เขตพระราชวังหลวง ตรงบริเวณสี่แยกที่เรียกว่าดะแลงแกง ซึ่งบริเวณที่เป็นคุกหลวงจะมีสภาพเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยอยู่กลางบึง รวมทั้งมีวัดที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอยู่ในบริเวณนั้นด้วย วัดดังกล่าวคือ “วัดเกษ”

            ที่บนเกาะทางทิศใต้ของคุกหลวงที่ตั้งของวัดเกษ ศาสนสถานประจำคุก อันประกอบด้วยพระเจดีย์ประธานซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นปรางค์ และวิหารทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการจัดศาสนสถานโดยทั่วไปของสมัยนั้น ความผิดแผกแตกต่างไปของศาสนสถานแห่งนี้ภายหลังการบูรณะ ก็คือลักษณะของพระเจดีย์ที่มีฐานสูงมากจนผิดสัดส่วนผิดแบบแผนไปทั้งองค์

            ในการขุดแต่งและบูรณะเมื่อสมัยต้นๆ ผู้รับผิดชอบให้ความสนใจเกี่ยวกับหลักฐานทางด้านวิชาการน้อยมาก การเก็บข้อมูลการศึกษาเปรียบเทียบศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนการออกแบบเพื่อการบูรณะที่ยังไม่เข้มงวดกวดขัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความซำนาญของเจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายจะให้ข้อมูล หรือให้แนวความความคิดที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกัน และไม่มีข้อสรุปที่ดีพอ ดังนั้นพระเจดีย์ทรงประหลาดของวัดเกษ จึงถูกบูรณะขึ้น

            ด่อมา เมื่อมีนักวิชาการจากกลุ่มอื่นได้นำหลักฐาน ซึ่งเป็นภาพถ่ายเก่าก่อนการขุดแต่งและบูรณะมาเสนอเปรียบเทียบ จึงเห็นได้ชัดถึงความแตกด่างและความผิดพลาดในการตัดสินใจบูรณะมากยิ่งขึ้น นับเป็นอุทาหรณ์ที่ต้องระวังของการที่จะตัดสินใจบูรณะแบบต่อเติมเสริมแต่งตามความคิดเห็นของผู้ใดผู้หนึ่งที่ขาดสำนึกทางวิชาการ อย่างไรก็ตามพระเจดีย์องค์นี้ ก็คงจะได้รับการแก้ไขในโอกาสต่อไป

            จากการขุดแต่งและบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้ปรากฏร่องรอยของพระวิหารที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานว่า มีการซ่อมแปลงและขยายฐานของวิหารออกมาจากฐานเดิม ซึ่งที่ฐานซั้นล่างสุดยังปรากฏรูปปูนปั้น ซึ่็งด่อมาได้บูรณะปิดรูปปูนป้้นและฐานชั้นนี้ไว้ภายใน ดังนั้น จากหลักฐานชิ้นดังกล่าวนี้ อาจนำมากล่าวได้ว่า ในสมัยหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาได้มีการซ่อมแก้ไขและเปลี่ยนแปลงวิหารซึ่งได้รวมมาถึงการซ่อมสร้างเจดีย์องค์นี้ด้วยเช่นเดียวกัน และจากลวดลายของศิลปกรรมที่ประดับองค์พระปรางค์ตลอตจนรูปทรงของพระปรางค์องค์ที่ร้างขึ้นบนยอดของเจดีย์ประธานองค์นี้เป็นศิลปกรรมที่อาจกำหนดอายุได้ว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ หรือในช่วงสมัยหลังของรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลงมา

            ที่หลังวัดเกษ หรือหลังเจดีย์ประธานมาทางด้านทิศตะวันตกมีสระเเปดเหลี่ยมขนาดใหญ่อยู่ ๑ สระ เมื่อปีงบประมาณ ๒๕๓๔ ได้มีการขุดแต่งและบูรณะสระแห่งนี้ ระหว่างที่ทำการขุดลอกเพื่อบูรณะนั้น ได้พบว่า ที่กึ่งกลางของสระมีเสาไม้หลักอยู่คู่หนึ่งซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า สระแห่งนี้อาจสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำน้ำเพื่อพิสูจน์ความสัตย์จริงของคู่กรณีก็เป็นได้

            ด้านทิศตะวันออกนอกคลองนครบาลมีหอกลองตั้งอยู่ ปัจจุบันผุพังสูญหายไปหมดสิ้นแล้วคงเหลือแต่หลักฐานที่พระยาโบราณราชธานินทร์บันทึกไว้ไน อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยาดอนหนื่งว่า

            “ถนนสายนี้ (ถนนหลวงกว้าง ๕ วา สำหรับมีการใหญ่แห่พระกถินหลวง นากหลวง ตั้งพยุห์บาตรา) ตามแผนที่เป็นถนนขวางอยู่กึ่งกลางพระนคร แต่เหนือไปใต้ และมีถนนรีแต่ด้านตะวันออก ตรงไปทางตะวันตกถึงหลังวังหลังซึ่งอยู่ในบริเวณโรงทหารเดี๋ยวนี้ เป็นถนนสายรีที่อยู่กึ่งกลางพระนครเหมือนกัน ตรงที่ถนนสองสายนี้ผ่านตัดกันเป็นทาง ๔ แพร่งเรียกว่าตะแลงแกง ริมถนนตะแลงแกงด้านเหนือฟากตะวันตกมีหอกลอง ซึ่งผู้ตรวจสอบหนังสือเรื่องนี้เคยตรวจค้น ขุดพบโคนเสาขนาดใหญ่เท่ากับเสาพระเมรุกลางเมืองแต่ก่อนเหลืออยู่ ๓ ต้นและมีรากกำแพงอิฐรอบห่างจากหอกลองเข้าไป ด้านหลังมีวัดเรียกว่าวัดเกษ ต่อจากหลังวัดเกษไปมีคุกมีคลองเล็กแยกจากคลองท่อ ที่ถัดสะพานลำเหยมาทางตะวันออกถึงคุกเรียกว่าคลองนครบาลข้างฟากถนนตะแลงแกงทางใต้ด้านตะวันตก มีศาลพระกาฬหลังคาเป็นซุ้มปรางค์ และมีศาลอยู่ต่อกันไปเข้าใจว่าจะเป็นศาลพระเสื้อเมืองพระทรงเมือง พระหลักเมือง ที่ตรงตะแลงแกงเห็นจะถือกันว่าเป็นกลางพระนคร”

            ยังมีหลักฐานอื่นๆ ที่ปรากฎในพระราชพงศาวดารและวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่จะขอนำมาสนับสนุนแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องของตะแลงแกงที่ขวักไขว่ไปด้วยผู้คนแห่งนี้ เมื่อถึงเวลาที่ด้องการแสดงความศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจที่เด็ดขาดของการพิพากษาดัดสินคดี ก็สามารถใช้ข่มขวัญคู่ต่อสู้ได้อย่างเด็ดขาด ดังในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อได้ราชสมบัติแล้ว ติดตามขุนนางฝ่ายที่ต่อต้านได้ให้เอามาประหารชีวิตเสียที่หัวตะแลงแกง เพื่อให้อาณาประชาราษฎรได้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่นเดียวกับในกลอนเสภาเรื่องขุนช้างชุนแผน ตอน ประหารนางวันทอง และเถรกวาด ว่า

          ครั้นถึงที่หัวตะแลงแกง           คนผู้ดูแดงทั้งชายหญิง
วันทองสิ้นกำลังลงนั่งพิง                  พระไวยวิ่งเข้าประคองวันทองไว้

            และ

          ชุมพลรับสั่งไม่ยั้งหยุด            รีบรุดลามาหาช้าไม่
นำหน้าพาเถรตระเวนไป                   นครบาลนายไพร่ก็คุมตาม
ผู้คนพลเมืองนั้นดาษดื่น                    แตกตื่นกันดูอยู่ล้นหลาม
ตำรวจตรวจตราว่าห้ามปราม              คอยห้ามมิให้เข้าใกล้เคียง
ครั้นถึงตะแลงแกงก็ยั้งหยุด                อุตลุดผู้คนไม่ขาดเสียง
ปักหลักมัดเถรนั่งเอนเอียง                 ชุมพลเหวี่ยงดาบฉาดคอขาดไป
พวกคนผู้มาดูเขาเข่นฆ่า                   จะมีใครเวทนาก็หาไม่
บ้างว่าสมน้ำหน้าสาแก่ใจ                  พระเถรอะไรมันกินคน
ที่เป็นญาติพี่น้องของคนตาย              ก็ด่าว่าวุ่นวายอยู่เกลื่อนกล่น
แล้วต่างคนคืนสถานบ้านเรือนตน        ฝ่ายชุมพลสั่งผู้คุมคอยระวัง
ศีรษะเสียบรักษาอย่าประมาท             เผื่อคนดีมันจะอาจเข้ามามั่ง
จงพิทักษ์รักษาอย่าได้พลั้ง                กำชับสั่งเสร็จสรรพแล้วกลับมา 

            เมื่อแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ราชธานีโยกย้ายไปตั้งในที่แห่งใหม่ที่กรุงเทพฯ อยุธยาก็ถูกทอดทิ้งให้รูปร่างเป็นป่าชัฎไปสิ้นทั้งเกาะ ตราบจนกระทั่งราวปี พ.ศ.๒๔๘๓ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราซมาสู่ระบบประชาธิปไตย ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคนหนึ่งของคณะราษฎร์ซึ่งเป็นชาวอยุธยา ได้ทำการย้ายจวนสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ของพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๗ จากวัดสะพานเกลือบริเวณเกาะลอย ตรงข้ามที่ว่าการมณฑล มาสร้างขึ้นในบริเวณคุกนครบาลเก่าแห่งนี้ และให้ชื่อบ้านทรงไทยกลุ่มนี้ว่า “คุ้มขุนแผน” โดยตัวของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ก็มักจะมาพักอยู่เสมอๆ ระหว่างวันหยุดสัปดาห์ที่กลับมาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

            สาเหตุแห่งการตั้งชื่อที่พักแห่งนี้ว่า “คุ้มขุนแผน” เป็นเพราะความซาบซึ้งในวรรณกรรมของไทยเรื่องขุนช้าง - ขุนแผน ซึ่งในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่า เรื่อง ขุนช้าง - ขุนแผน เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในแผ่นดินสมเด็จพระพันวษา ซึ่งเมื่อสืบเหตุการณ์ตามท้องเรื่องแล้ว เชื่อได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในราวแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ระหว่างจุลศักราช ๘๕๓ - ๘๙๑ (พ.ศ ๒๐๓๔ - ๒๐๗๓) เรื่องราวของขุนช้าง - ขุนแผนที่เป็นเรื่องแบบชาวบ้านๆ เล่าขานกันสืบมา จนกลายเป็นนิทานที่กล่าวเติมเสริมแต่งให้มีรสมีชาติมากยิ่งขึ้น จะมีก็แต่เนื้อหาสาระใหญู่ๆ ของเรื่องเท่านั้นที่มีเค้าของความจริงอยู่บ้าง เเละดัวยความประทับใจในเนื้อเรื่อง เมื่อนำบ้านหลังนี้มาสร้างขึ้นในบริเวณที่เป็นคุกนครบาล ก็เลยตั้งชื่อให้สอดคล้องกับการที่ขุนแผนมาดิดคุกนครบาลแห่งนี้ด้วย ดังบทประพันธ์ที่ว่า

          ฝ่ายพวกนครบาลได้รับสั่ง      เข้าล้อมหน้าล้อมหลังอยู่เป็นหมู่
พาขุนแผนคุมออกนอกประตู            พระหมื่นศรีเอ็นดูร้องสั่งไป
ฝากด้วยเถิดพ่อเจ้าทุกเช้าคํ่า            จองจำแต่พออัชฌาสัย
นครบาลรับคำแล้วนำไป                  เอาตัวเข้าคุกใหญ่ในทันที

            ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บูรณะเรือนไทยกลุ่มนี้ และมอบให้อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรมาจนถึงปัจจุบันนี้.

 

 

 

 วิดีทัศน์

วัดเกษ

 แผนที่ : การเดินทาง