ชื่ออุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

หลุมขุดค้นโครงกระดูก


 

 

          หลุมฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ำแควน้อย ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน ๔ โครง แต่เห็นอยู่ในหลุมขุดค้นเพียง ๒ โครง เนื่องจากอีก ๒ โครงไม่สามารถกำหนดอายุและเพศได้ ทั้ง ถูกรบกวนจากสัตว์ในดิน จึงได้นำขึ้นจากหลุมและนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

          โครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเพศหญิง อายุประมาณ ๓๐-๓๕ ปี และโครง ที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพศหญิง อายุประมาณ ๒๐-๓๐ ปี ทั้งสองโครงถูกฝังรวมกับภาชนะ สำริด ลูกปัดหินอาเกตและคาร์นีเลียน และลูกปัดแก้ว

          แหล่งโบราณคดีที่เป็นหลุมฝังศพในลักษณะนี้ พบหลายแห่งตามริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ในเขตอำเภอ ไทรโยค จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แสดงถึงกลุ่มคนในวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำมาก่อนที่ จะมีการสร้างปราสาทเมืองสิงห์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จากหลักฐานต่างๆ ที่พบแสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้เคย อยู่มาเมื่อประมาณ ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว และเคยมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่น เช่นที่แหล่งบ้านดอนตราเพชร อำเภอพนมทวน เพราะหลักฐานต่างๆ ที่พบคล้ายคลึงกันและมีอายุในช่วงปลายของยุคโลหะเช่นเดียวกัน

แผนที่แสดงจุดรับฟังการบรรยายหลุมขุดค้นโครงกระดูก