ชื่ออุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

โบราณสถานหมายเลข 2


  เป็นกลุ่มอาคารเช่นเดียวกับโบราณสถานหมายเลข ๑ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบนอกกำแพงแก้ว ใกล้มุม กำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข ๑ กลุ่มอาคารทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นฐาน เขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน ๒ ชั้น ฐานชั้นล่างกว้าง ๓๓.๙๐ เมตร ยาว ๕๔.๒๐ เมตร สูง ๐.๘๐ เมตร ตรงกลาง ใช้ดินลูกรังหรือศิลาแลงเม็ดเล็กๆ อัดแน่น ก่อสร้างด้วยศิลาแลงแล้วประดับด้วยลายปูนปั้น

          ถัดไปเป็นฐานชั้นบนกว้าง ๒๓.๗๐ เมตร ยาว ๔๔.๘๐ เมตร มีทางขึ้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนฐาน ชั้นนี้เป็นลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร

          ถัดจากลานเป็นแนวระเบียงคดและเป็นโคปุระด้านหน้า หรือด้านทิศตะวันออก มีทางขึ้น ๔ ทิศ ถัดจาก โคปุระด้านหน้าออกไป ๗ เมตร เป็นกลุ่มอาคาร ๖ หลัง ตั้งรวมกันเป็นกลุ่มห่างจากโคปุระด้านหน้าค่อนข้างมาก ประกอบด้วยปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ด้านข้างเป็นโคปุระด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ด้านหลังเป็นโคปุระด้าน ทิศตะวันตก ซุ้มทิศมุมตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน มีระเบียงคดและทางเดิน เชื่อมต่อกัน

          จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒ นี้ได้พบแท่นฐานประติมากรรมหินทรายเป็นจำนวนมากตั้งอยู่ ในโคปุระและตามแนวระเบียงคดและที่ซุ้มทิศ นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปนาคปรก นางปรัชญาปารมิตา พระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก

          ลักษณะตัวอาคารของโบราณสถานหมายเลข ๒ มีลักษณะไม่สมดุลกัน ไม่ว่าจะเป็นฐานของโคปุระด้าน ทิศตะวันออก ซึ่งแต่ละด้านย่อมุมไม่เท่ากัน หรือฐานของแนวระเบียงด้านทิศใต้ที่ไม่อยู่ในลักษณะของเส้นตรง เหมือนกับฐานของแนวแนวระเบียงคดด้านทิศเหนือ หรือที่โคปุระด้านทิศเหนือที่มีทางขึ้นด้านข้างแต่กลับไม่พบที่ โคปุระด้านทิศใต้ สิ่งเหล่านี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าโบราณสถานหมายเลข ๒ นี้อาจจะยังสร้างไม่เสร็จ หรือมีการก่อ สร้างเพิ่มเติมจนทำให้อาคารมีลักษณะดังกล่าว

แผนที่แสดงจุดรับฟังการบรรยายโบราณสถานหมายเลข 2