ชื่ออุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

ผังบริเวณเมืองสิงห์


  ๑. โบราณสถานหมายเลข ๑                   ๒. โบราณสถานหมายเลข ๒
  ๓. โบราณสถานหมายเลข ๓                   ๔. โบราณสถานหมายเลข ๔
  ๕. อาคารจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ           ๖. สำนักงาน
  ๗. ร้านอาหาร ลานจอดรถ                     ๘. สุขา
  ๙. อาคารเอนกประสงค์                         ๑๐. เรือนพักรับรอง
๑๑. บ้านพักเจ้าหน้าที่                             ๑๒. หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
๑๓. ป้อมยามรักษาการณ์                         ๑๔. ป้อมจำหน่ายบัตร
๑๕. คูน้ำคันดิน                                      ๑๖. สวนหิน
๑๗. สระ                                              ๑๘. ศาลาพัก
๑๙. หมู่บ้านราษฎร                                 ๒๐. ประตูเมือง
๒๑. กำแพงเมือง                       

 

  เมืองสิงห์ตั้งอยู่ในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี สามารถเดินทางได้ทางรถยนต์ จากกรุงเทพมหานครประมาณ ๑๗๕ กิโลเมตร หรือโดยสารทางรถไฟจากสถานีบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร

          เมืองสิงห์อยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย บริเวณเมืองสิงห์ยังเป็นพื้นที่ที่มีเทือกเขาล้อมรอบ ทำให้พื้นที่ลาดเทลงมายังแม่น้ำแควน้อย ดังนั้นดินในบริเวณนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์มาก เหมาะต่อการทำเกษตรกรรม

          จากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทำให้เมืองสิงห์มีพัฒนาการทางวัฒนธรรมมาเป็นเวลานานดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมาย หลักฐานเก่าแก่ที่สุดพบในบริเวณเมืองสิงห์นั้นได้จากการขุดค้นบริเวณแม่น้ำแควน้อยนอกกำแพงเมืองสิงห์ด้านทิศใต้ เป็นหลุมฝังศพมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ฝังร่วมกับศพ คล้ายคลึงกับที่พบที่บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในตอนปลายยุคโลหะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว ในสมัยต่อมาเป้นช่วงเวลาที่มีการสร้างเมืองคือเมืองสิงห์ ปรากฏหลักฐานเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ตัวเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดพื้นที่ประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร มีคูเมือง คันดินและกำแพงเมืองศิลาแลงล้อมรอบ ที่กลางเมืองมีโบราณสถาน ทรงปราสาทสร้างขึ้นตามลักษณะศิลปะขอมแบบบายน

          นอกจากตัวเมืองโบราณ และโบราณสถานแล้ว ยังพบโบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมตามลักษณะศิลปขอมแบบบายน ซึ่งจากลักษณะทางศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุได้ว่าเมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์ น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือตรงกับรัชสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ของประเทศกัมพูชา ตามที่ปรากฏศิลาจารึกหลักหนึ่ง พบที่ปราสาทพระขรรค์ซึ่งทำขึ้นโดยเจ้าชายวีรกุมารพระราชโอรสองค์หนึ่ง ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีข้อความสรรเสริญความกล้าหาญ และการบุญกุศลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีตอนหนึ่งที่กล่างถึงชื่อเมืองต่างๆ โดยเฉพาะได้ระบุชื่อเมือง ๖ เมือง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป้นเมืองในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ลโวทยะปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกะปัฏฏนะ ชัยราชบุรี ศรีชัยสิงห์บุรี และศรีวิชัยวัชรบุรี ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเมืองศรีชยสิงหบุรี ก็คือเมืองสิงห์ที่ตั้งปราสาทเมืองสิงห์ ในจังหวัดกาญจนบุรี

          นอกจากแนวความคิดที่เชื่อว่า ปราสาทเมืองสิงห์สร้างขึ้นในศิลปกรรมขอมในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตามเหตุผลดังกล่าวแล้ว ยังมีแนวความคิดอีกแนวหนึ่งซึ่งเชื่อว่าเมืองสิงห์ และปราสาทเมืองสิงห์น่าจะเป็นการก่อสร้างที่เลียนแบบปราสาทขอมสมัยหลังรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และไม่น่าเกี่ยวข้องอันใดกับชื่อเมืองศรีชัยปุระในจารึก เนื่องจากเห็นว่าลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ขาดความสมดุล และความลงตัวและเกิดความคาดเคลื่อนในการวางตำแหน่งของอาคาร ตลอดจนจารึกที่ฐานหินทรายลองรับประติมากรรมเป็นตัวอักษรและภาษาขอมสมัยหลังเมืองพระนคร หรือหลังจากสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ รวมทั้งชื่อเมืองสิงห์ไม่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ใดก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงทำให้เกิดข้อคิดเห็นว่าเมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์น่าจะเป็นการก่อสร้างที่เลียนแบบปราสาทขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และไม่น่าเกี่ยวข้องอันใดกับชื่อเมืองศรีวิชัยสิงหบุรีในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์

          เรื่องราวของเมืองสิงห์ยังปรากฏเป็นตำนานจากคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองที่เกี่ยวกับเมืองสิงห์ และปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอาจเป็นความพยายามอธิบายเมืองโบราณแห่งนี้โดยยกเป็นตำแหน่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับท้าวอู่ทอง ซึ่งหนีภัยจากท้าวเทพสุวรรณโณไปเที่ยวสร้างเมืองหลบซ้อนตามที่ต่างๆ แถบนั้นโดยชื่อเมืองจะอธิบายโบราณสถานแห่งนั้นตามแนวความคิดของตนกับสิ่งที่พบเห้น ตามโบราณสถานนั้นๆ เช่น ชื่อเมืองกลอนโด่ ก็เพราะสภาพโบราณสถานเหลือเพีบงซาก ซึ่งผู้เล่าเห้นว่าเป็นกลอนประตูทิ้งอยุ่ เมืองครุฑและเมืองสิงห์ก็น่าจะเป็นประสบการณ์ของผู้เล่าที่พบรูปครุฑ และรูปสิงห์ถูกทิ้งร้างอยุ่ที่โบราณสถานแห่งนั้น

          ลักษณะของเมืองสิงห์เป็นเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ตั้งอยุ่ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย มีเนื้อที่ประมาณ ๖๔๑ ไร่ ๑ งาน ๖๕ ตารางวา กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง ขนาดกว้างประมาณ ๘๘๐ เมตร ส่วนแนวด้านทิศเหนือถึงใต้ ยาวจนจรดแม่น้ำ ๑๔๐๐ เมตร กำแพงสูง ๗ เมตร มีประตุทางเข้า - ออก ทั้ง ๔ ด้าน กำแพงด้านในถมดินลาด ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตกมีคูน้ำดันดิน ล้อมรอบอีก ๗ ชั้น ส่วนด้านทิศใต้กำแพงเมืองคดโค้งไปตามลำน้ำแควน้อย โดยใช้ลำน้ำเป้นคูเมือง จึงมีผลทำให้ลักษณะของกำแพงเมืองด้านนี้มีรูปร่างไปตามแนวแม่น้ำโดยไม่เป้นเส้นตรงเช่นอีก ๓ ด้าน ภายในตัวเมืองมีสระน้ำ ๖ สระ และสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนาอีก ๔ แห่ง 

โบราณสถานหมายเลข ๑
คือ ปราสาทหลังใหญ่ตรงกับประตูเมืองสิงห์ด้านทิศตะวันออก

โบราณสถานหมายเลข ๒
คือ ปราสาทหลังที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกำแพงแก้วของปราสาทหลังใหญ่

โบราณสถานหมายเลข ๓
คือ อาคารขนาดเล็กที่ก่อด้วยอิฐและศิลาแลง อยู่นอกกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทหลังใหญ่ห่างออกไป ๑๕๐ เมตร

โบราณสถานหมายเลข ๔
คือ ฐานโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นห้องๆ อยู่ห่างจากกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทหลังใหญ่ไปประมาณ ๒๓๖.๕๐ เมตร

แผนที่แสดงจุดรับฟังการบรรยายผังบริเวณเมืองสิงห์