ชื้อวัดทุ่งศรีเมือง

พระอุโบสถ(หอพระพุทธบาท)


 

ภาพด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

          รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นอาคารก่ออิฐส่อปูน(ปูนหมัก ขัดปูนตำ) มุขหน้าประกอบด้วยเสาก่ออิฐถือปูนฉาบเรียบ เสาย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน 4 ต้น ประดับด้วยบัวหัวเสาปูนปั้นประดับกระจก หน้าบันเป็นไม่แกะสลักลายก้านขดประดับกระจก ตรงกลางลายเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้าง 3 เศียรหรือช้างเอราวัณ ภายในมณฑปข้างเสาประกอบด้วยลายสาหร่ายและรวงผึ้ง ฐานพระอุโบสถเป็นฐานสิงห์ เอวขันสูงประมาณ 1.85 - 2.15 เมตร ผนังประดับด้วยแนวเสาปูนปั้นและบัวหัวเสาประดับกระจก คันทวยไม้แกะสลัก ของคันทวยส่วนหางลำตัวเป็นรูปนาคส่วนหัวเป็นรูปเทพพนม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหางมน 2 ชั้น (ทางวัดสั่งซื้อมาจากชลบุรีเมื่อ พ.ศ. 2503) ช่อฟ้ารวยระกาหางหงส์เป็นรูปปั้นประดับกระจก (ทำซ้ำใหม่เมื่อ พ.ศ. 2503) ภายในผนังมีจิตรกรรมผาผนังที่มีคุณค่า โดยเป็นจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย ทรงผม นอกจากภาพชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานและคนลาวแล้ว ยังแสดงภาพชาวตางชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง แขก ซึ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยนี้อีกด้วย  

ด้านทิศใต้

พระพุทธรูปประธานและจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ

บัวหัวเสาที่ทาสีทองและประดับด้วยกระจก

ภาพคันทวยทาด้วยสีทอง

ช่อฟ้าที่ประดับด้วยกระจก