เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2325 มีราษฎร อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านเหล่าพลบก อำเภอราษีไศล และอพยพมาจากบ้านทุ่งมั่งเขียดอีปาคุ อำเภอกัณทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ มาอยู่ที่ทุ่งหนองขุมดิน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2375 ได้เกิดโรคระบาดทั้งหมู่บ้านทำให้ราษฎรในหมู่บ้านพากันล้มตายกันมาก ราษฎรบางคนเชื่อว่าเกิดจากผีจะมาเอาชีวิต ทำให้ราษฎรเกรงกลัวกันมาก จึงได้พากันย้ายออกจากทุ่งหนองขุมดิน มาทางนะวันออกของหมู่บ้าน ด้วยระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านนาซาวในปัจจุบันนี้

          นามบ้านนาซาวตามสันนิษฐานว่ามาจากชาวบ้านที่อยู่กันอย่างยากไร้ ไม่พอกิน ราษฎรจึงทำงานกันตั้งแต่เช้าจนค่ำ ทำให้เวลากลับบ้านก็ยากลำบาก เพราะระหว่างทางกลับบ้านมันเป็นป่าทึบ จึงทำให้มองไม่เห็น ต้องใช้มือคลำทางไปก่อน ภาษาท้องถิ่นจะเรียกว่าซาวไปก่อน และก็ได้ใช้เป็นชื่อของหมู่บ้านในปัจจุบัน

  

          ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อุโบสถ(สิม) วัดบ้านนาซา มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 10.20 เมตร ยาวประมาณ 13.00 เมตร เป็นศิลปะแบบอีสาน

 กุฏิเก่าหลังที่ 1 เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 5.4 เมตร ยาวประมาณ 8.00 เมตร ด้านล่างก่ออิฐฉาบปูนด้านปูนขาวหมัก ส่วนด้านบนสร้างด้วยไม้ตะเคียน ส่วนหลังคาเป็นหลังคาสังกะสี

 กุฏิเก่าหลังที่ 2 เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 10.00 เมตร ยาวประมาณ 13.00 เมตร สร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง เสาก็เป็นเสาไม้ ส่วนหลังคาเป็นหลังคาสังกะสี

          สภาพปัจจุบัน อุโบสถ (สิม) สภาพตัวอาคารสีลอก และขึ้นสนิม ควรได้รับการทาสีใหม่

 กุฏิสงฆ์เก่า 1 มีสภาพตัวอาคารด้านล่างที่เป็นปูนสีลอกเกือนทั้งตัวอาคาร หลังคาเป็นสังกะสีก็ผุกร่อนมีรูรั่ว ควรได้รับการทาสีใหม่ และซ่อมแซมหลังคาใหม่

 กุฏิสงฆ์เก่า 2 มีสภาพหลังคาที่เป็นสังกะสีผุกร่อนมีรูรั่ว ควรได้รับการซ่อมแซมหลังคาใหม่