วัดบ้านตำแย ตั้งอยู๋ที่ ต.ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ตามที่ได้สอบถามท่านเจ้าอาวาส (พระครูอินทรสาร โสภณ)  ว่าวัดบ้านตำแยเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2322 แต่ไม่มีหลักฐานชัด มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ อุโบสถ (สิม) วัดบ้านตำแยเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน มีขนาดกระทัดรัด และเรียบง่าย ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตามประวัติความเป็นมาได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีเจ้าอาวาสวัดชื่อทา สมเด็จชาดาภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิก ร่วมกันสร้างขึ้น โดยมีจารึกปรากฏอยู่ทางเข้าประตูเป็นภาษาไทยน้อย ระบุไว้ว่า ญาครูทา (พระเจ้าอาวาส-ชื่อทา) สมเด็จชาต ภิกษุ สามเณร อุปาสก และอุบาสิกา ได้ร่วมกันสร้างขึ้น มีความงามตามรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

           อุโบสถ (สิม) วัดบ้านตำแย เป็นอุโบสถที่ทรงคุณค่าด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เป็นที่น่าศึกษาแหล่งอารยธรรมที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแล้วในอดีตกาล และวัวัฒนาการของศิลปะตามแบบช่างพื้นถิ่นอีสาน แต่เดิมเล่าว่ามีหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ และด้านหน้ามีชายคายื่นออกมา มีภาพเขียนรูปราหอมจันทร์ บนประตูทางเข้า(ปัจจุบันหมดไป) ภายในก็มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังอยู่ แต่ช่วงหลังนี้หายหมด

 

         ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วัดบ้านตำแย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน มีขนาดกระทัดรัดและเรียบง่าย เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ ฉาบปูน ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่มีความกว้าง 5.48 เมตร ความยาว 7.90 เมตร มีประตูทางขึ้นด้านเดียวทางทิศตะวันออก ด้านข้างตัวสิมทำเป็นช่องหน้าต่าง ต้นละ 1 ช่อง มีไม้ยื่นออกมาจากผนังรอบคันทวยรูปพญานาคลักษณะอ่อนช้อยสวยงามมาก ตัวอาคารก่อด้วยอิฐถือปูน หลังคาเดิมมุงด้วยไม้ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา และปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมุงด้วยสังกะสีซึ่งชาวบ้านยืนยันว่า สังกะสีนี้มุงมานานแล้วไม่น้อยกว่า 60 ปี ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ชำรุด ผุพังไปหลายส่วน จากคำบอกเล่าของท่านเจ้าอาวาสวัด (พระครูอิทรสารโสภณ) ได้ข้อมูลยืนยันเกี่ยวกับวัสดุมุงหลังคาว่า เดิมหลังคาเป็นไม้แล้วเปลี่ยนมาเป็นดินขอ(กระเบื้องเผา) และเปลี่ยนมาเป็นสังกะสี ส่วนผนังและส่วนอื่น ๆ ไม่ปรากฏอยู่ ระบุไว้ว่ามีการบูรณะหรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด มีเพียงผนังบางแห่งมีรอยปูนขาวทาทับไว้

          อุโบสถ (สิม) วัดบ้านตำแยนอกจากจะมีความสวยงามตามรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานแล้วที่ผนังอาคารด้านหน้าในปัจจุบันยังมีจารึกปรากฏอยู่ระบุไว้ว่า ญาครูทา (พระเจ้าอาวาสชื่อทา) สมเด็จชาดาภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ร่วมกันสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2417

           หลังการบูรณะในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งยึดหลักการอนุรักษ์โบราณสถาน วิธีการทำคือยึดถือรูปแบบและรูปทรงให้คงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด ด้วยการตรวจสภาพโบราณสถานทุกส่วนและเสริมความมั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้นในส่วนที่ชำรุดและขาดหายไป ได้ทำการสับเปลี่ยนและจัดทำขึ้นใหม่ตามสภาพและหลักฐานที่ปรากฏให้เหมือนสภาพเดิมมากที่สุด บางส่วนที่เป็นศิลปกรรม ได้เขียนภาพลายเส้นไว้เพื่อเป็นหลักฐานต่อไป

           อุโบสถ (สิม) วัดบ้านตำแย ภายหลังการบูรณะในครั้งนั้น โครงสร้างอาคารทั้งหมดอยู่ในสภาพสมบูรณ์และแข็งแรง ประกอบสิ่งก่อสร้างและภูมิทัศน์จัดลงไว้แบบเหมาะสมและลงตัว กอบกลืนกลับอุโบสถ และจัดทำอุโบสถอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปยาวนาน