ชื่อแหล่งโบราณคดีดงเมืองเตย

ภาชนะดินเผา



ตัวอย่างโบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณชุมชนโบราณดงเมืองเตย

         

          รูปทรงคล้ายไห สีเทา และมีลายขูดขีดเป็นเส้นขนานรอบไห

         จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่โบราณสถานดงเมืองเตยใน พ.ศ.2526 พบชิ้นส่วนหินทรายสีแดง   เศษภาชนะดินเผา และปราสาทอิฐที่ถูกลักลอบขุดด้านทิศใต้ของปราสาท ในพ.ศ.2534 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเป็นครั้งที่ 2 พบหลักฐานเพิ่มเติมจากครั้งแรกโดยพบว่าปราสาทอิฐมีชาลาทางเดินที่ปูด้วยอิฐเชื่อมไปยังปราสาท ชิ้นส่วนเศษภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนประติมากรรมหินทราย กุฑุสลักรูปบุรุษ ฐานเสาประดับกรอบประตูที่สลักรูปบุรุษและรูปสตรีในซุ้มวิมานปราสาท และพบสิงห์ 1 ตัว บริเวณด้านหน้าปราสาททางทิศตะวันออกเฉียงใต้

         พ.ศ. 2555 – 2556 กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นเป็นครั้งที่ 3 บริเวณด้านข้างปราสาทอิฐ และด้านหลังปราสาทอิฐ ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของแหล่ง พบเศษภาชนะดินเผาจำมากกระจายอยู่ทั่วหลุม     และพบโครงกระดูกมนุษย์นอนหงายเหยียดยาวพร้องกับหม้ออุทิศ นอกจากนี้ยังพบเขากระทิงอีกด้วย

         เมื่อ พ.ศ. 2557 กรมศิลปากรได้ขุดค้นครั้งที่ 4 โดยขุดบริเวณกลางเนิน ด้านทิศตะวันตกของโบราณสถาน พบหลักฐานการฝังศพในภาชนะดินเผา พบหลักฐานการถลุงโลหะ (เหล็ก) คือเตาถลุงและขี้แร่

         พ.ศ. 2558 กรมศิลปากรได้ขุดค้นทางโบราณคดีเป็นครั้งที่ 5 โดยเลือกขุดบริเวณตรงกลางเนิน     ด้านทิศตะวันออกของโบราณสถาน พบหลักฐานการตีแร่เหล็กให้เป็นก้อนบริสุทธิ์ เพื่อนำไปเป็นวัตถุดินในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการฝังศพในภาชนะดินเผา และเศษภาชนะดินเผาที่มีลายขูดขีด คล้ายงูเลื้อย ซึ่งเป็นลวดลายและวิธีทำที่คล้ายกับภาชนะดินเผาในสมัยฟูนัน

         จากร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่แหล่งโบราณคดีดงเมืองเตยทำให้ทราบว่าบริเวณดังกล่าว มีการอาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 2,500 ปีที่ผ่านมา ต่อเนื่องสมัยประวัติศาสตร์ ตอนต้น