แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีผาแต้ม

ภาพเขียนสีกลุ่มที่ ๒ กลุ่มผาแต้ม



ภาพเขียนสีกลุ่มผาแต้ม ตุ้ม เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำ

 

       ห่างจากภาพเขียนสีกลุ่มที่ ๑ ประมาณ ๓๐๐ เมตร เป็นกลุ่มภาพเขียนสีที่มีขนาดใหญ่ และยาวที่สุดของภาพเขียนผาแต้ม โดยยาวต่อเนื่องกันถึง  ๑๘๐ เมตร และเนื้อที่เกือบ ๙๐๐ ตารางเมตร ภาพเขียนสีที่เห็นได้มี ๕ ประเภท ได้แก่ คน สัตว์ วัตถุ สัญลักษณ์ และมือคน เป็นภาพเขียนสีที่มีเทคนิควิธีการ คือ การลงสี (Pictograph) จำนวนกว่า ๓๐๐ รูป และเทคนิคการสลักหินหรือการทำรอยลงในเนื้อหิน (Petroglyph) โดยใช้วิธีการฝนเซาะร่อง (abrading) อยู่ด้วย เทคนิคการลงสีที่เป็นภาพเขียนแบบมองเห็นได้ชัดเจน คือ การใช้สีแดง สีดำ และสีขาวบ้าง น้ำหนักของสีมีทั้งอ่อน แก่ ภาพลูกช้างที่ใช้เทคนิคการระบายสีทึบเต็มรูปแบบเงา (silhouette) นอกจากนี้ยังมีภาพมือที่ใช้เทคนิคแบบพ่น (stenciling) และเทคนิคแบบทาบ (imprint)


ภาพเขียนสีกลุ่มผาแต้ม ภาพช้างเขียนโดยวิธีการระบายสีทึบ


ภาพเขียนสีกลุ่มผาแต้ม ภาพปลาบึก เตา เครื่องมือจับสัตว์น้ำ (ตุ้ม) และลายสัญลักษณ์แสดงถึงน้ำ


ภาพเขียนสีกลุ่มผาแต้ม ภาพมือโดยใช้วิธีการแบบทาบ


ภาพเขียนสีกลุ่มผาแต้ม ภาพมือที่ใช้เทคนิคการพ่น


ภาพเขียนสีกลุ่มผาแต้ม ภาพสัญลักษณ์ที่สันนิษฐานว่าแทนคลื่นหรือน้ำ